วิธี ยื่นภาษีออนไลน์ สรุปสั้นๆ ฉบับเข้าใจง่ายทุกขั้นตอน มือใหม่ควรรู้!
การยื่นภาษีเงินได้ประจำปีเป็นสิ่งที่ทุกคนทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว ทุกวันนี้มันง่ายขึ้นเมื่อเราสามารถ ยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ แต่สำหรับใครที่ยังไม่เคยทำรูปแบบออนไลน์มาก่อน หรือใครที่ยังไม่เคยยื่นแบบภาษีมาก่อนเลยในชีวิต คงจะสับสนอยู่ไม่น้อย ดังนั้น บทความนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจวิธีการยื่นผ่านออนไลน์ พร้อมหลักเกณฑ์ที่มือใหม่ควรรู้
รู้จักกับ ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ก่อนอย่างแรก
ตามปกติแล้วมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ หรือแม้แต่คนทำธุรกิจในนามบุคคลจะต้องยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคล (Personal Income Tax) ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในที่นี้หมายถึง “บุคคลทั่วไป” ที่มีการจ่ายค่าแรงในรูปแบบของ ค่าจ้าง เงินเดือน รายได้จากธุรกิจ รายได้จากการขายของออนไลน์ เป็นต้น
โดยจะต้องยื่น “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91” เป็นประจำทุกปีที่สำนักงานสรรพากรประจำพื้นที่ หรือผ่านตัวแทนภาษี และวิธีใหม่ที่ทำได้ง่ายไม่ต้องเดินทางไปสรรพากรคือการ ยื่นภาษีออนไลน์ ที่ทั้งสะดวก แถมประหยัดค่าเดินทางอีกด้วย
หลักเกณฑ์และข้อยกเว้นการ ยื่นภาษีออนไลน์
เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดและยื่นภาษีออนไลน์ ได้อย่างถูกต้อง ควรทำความเข้าใจหลักเกณฑ์เบื้องต้นว่าใครที่ต้องยื่นแบบไหน ทำอย่างไร และใครต้องเสียภาษีเท่าไหร่บ้าง
ใครบ้างที่จำเป็นต้องยื่นภาษี
บุคคลที่ถูกระบุว่าต้องยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลประจำปี โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 และ ภ.ง.ด. 90 โดยแบ่งบุคคลออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- คนโสด
- ภ.ง.ด. 91 เมื่อมีเงินเดือน 10,000 บาท/เดือน หรือ 120,000 บาท/ปี
- ภ.ง.ด. 90 เมื่อมีรายได้ซึ่งมิใช่เงินเดือน 5,000 บาท/เดือน หรือ 60,000 บาท/ปี
- คนที่สมรสแล้ว
- ภ.ง.ด. 91 เมื่อมีเงินเดือน 18,333 บาท/เดือน หรือ 220,000 บาท/ปี
- ภ.ง.ด. 90 เมื่อมีรายได้ซึ่งมิใช่เงินเดือน 10,000 บาท/เดือน หรือ 120,000 บาท/ปี
ใครต้องเสียภาษีเท่าไหร่บ้าง? แพงมั๊ย?
อัตราภาษีที่บุคคลทั่วไปต้องเสียภาษีรายปีขึ้นอยู่กับรายได้ ตามข้อมูลจากตารางด้านล่างนี้
หลักเกณฑ์ในการยื่นภาษีและการจ่ายภาษี
ตามกฎหมายแล้วบุคคลทั่วไปที่มีรายได้ ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน ค่าจ้าง ผลประกอบการธุรกิจ จะต้องยื่นภาษีและจ่ายภาษีตามที่กำหนด แต่ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นสำหรับบุคคลบางประเภทที่จะต้องยื่นภาษี แต่ได้รับการงดเว้นจ่ายภาษี ดังนี้
- บุคคลที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 120,000 บาท หรือ 10,000 บาท/เดือน ไม่ต้องยื่นภาษี
- บุคคลที่มีรายได้ไม่เกิน 26,583.33 บาท/เดือน ยื่นภาษี แต่ได้รับการงดเว้นจ่ายภาษี
- บุคคลที่มีรายได้มากกว่า 26,583.33 บาท/เดือน ยื่นภาษีและต้องจ่ายภาษี
ขั้นตอนการ ยื่นภาษีออนไลน์
การยื่นภาษีออนไลน์ จะต้องดำเนินการผ่านเว็บไซต์ efiling.rd.go.th ของกรมสรรพากร โดยมีรายละเอียดและขั้นตอนดังต่อไปนี้
- สมัครเป็นสมาชิก ให้กรอก “เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร”
- กรอกข้อมูลส่วนตัวและตั้งค่ารหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งานระบบ
- ล็อคอินเข้าสู่ระบบด้วย Password ที่ตั้งค่าเอาไว้ เลขบัตรประจำตัวประชาชน หลังจากนั้นยืนยันรหัส OTP ที่ถูกส่งไปยังเบอร์มือถือที่ลงทะเบียน
- ไปยังหน้า “ภาษีของฉัน” เลือกยื่นแบบ “ภ.ง.ด. 90/91”
- กรอกข้อมูลผู้เสียภาษีลงในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน
- กรอกข้อมูลประเภทเงินได้ของตน โดยอิงหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือ ใบ 50 ทวิ
- กรอกเลขประจำตัวผู้จ่ายภาษี
- กรอกค่าลดหย่อนภาษี (ถ้ามี)
- ยืนยันการส่งแบบฟอร์ม
เอกสารที่ต้องใช้
ก่อนที่จะยื่นภาษีออนไลน์ จำเป็นต้องเตรียมเอกสารและข้อมูลให้พร้อม ซึ่งเอกสารสำคัญมีดังนี้
- ข้อมูลส่วนตัว: ข้อมูลประจำตัวผู้เสียภาษีและช่องทางการติดต่อ
- ข้อมูลรายได้: สลิปเงินเดือน รายได้จากการลงทุน ใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ใบเสร็จการรับเงิน ข้อมูลทรัพย์สิน/หนี้สิน
- ข้อมูลบัญชีธนาคาร: หมายเลขและชื่อบัญชีธนาคาร (กรณีต้องการขอคืนภาษี)
- ข้อมูลค่าใช้จ่าย: ข้อมูลค่าลดหย่อนภาษี
ระยะเวลาในการยื่นภาษี
ในการยื่นและจ่ายภาษีทั่วไปที่สรรพากรปกติแล้วจะต้องดำเนินการช่วงประมาณต้นปี โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี แต่ถ้าเป็นการยื่นภาษีออนไลน์สามารถยื่นได้จนถึงวันที่ 8 เมษายนของปีถัดไป
ข้อกำหนดการในการลดหย่อนภาษี
การลดหย่อนภาษีในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วย ค่าลดหย่อนส่วนตัว การลดหย่อนคู่สมรส ค่าฝากครรภ์-คลอดบุตรสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท และค่าลดหย่อนภาษีบุตรสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
นอกจากนี้ยังรวมถึงการลดหย่อนภาษีที่เกิดจากการบริจาค เช่น การบริจาคเงินให้องค์กร/มูลนิธิ พรรคการเมือง การลดหย่อนภาษีกลุ่มการลงทุนในกองทุนและประกันชีวิต ตลอดจนการลดหย่อนภาษีจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จัดทำโดยภาครัฐ เช่น โครงการ Easy e-Receipt โครงการช้อปดีมีคืน โครงการกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ
ยื่นภาษีออนไลน์ ด้วยตัวเองง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน มือใหม่ต้องจด!
ปัจจุบันการยื่นภาษีสามารถทำได้ทั้งแบบดั้งเดิม ส่วนช่องทาง ยื่นภาษีออนไลน์ ก็เป็นอีกทางเลือกที่สะดวกสบาย รวดเร็ว ไม่ต้องเดินทางไปยังสรรพากรด้วยตัวเอง อีกทั้งความสะดวกของระบบ e-Filing ที่โอกาสกรอกข้อมูลหรือคำนวณผิดพลาดน้อยกว่าการที่เราคำนวณด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ยังทำได้ง่ายจากมือถือตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องกังวลว่าจะปิดตามเวลาราชการหรือติดวันหยุดนักขัตฤกษ์หรือไม่